Image
พระประธานในพระอุโบสถ
Image
พระประธานในพระอุโบสถ
วัดทองนพคุณ 103 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา 17 เขตคลองสาน กทม. "สุทัศน์ เดียวสูงเนิน ผู้ดูแลเว็บ" 

สถิติ
เปิดเมื่อ9/09/2012
อัพเดท11/01/2013
ผู้เข้าชม39411
แสดงหน้า45237
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




เจ้าอาวาส (เข้าชม 1608 ครั้ง)


 


พระเทพปริยัติมุนี ร่มอารามทองนพคุณ

ข้อมูลจาก คอลัมน์ มงคลข่าวสด หนังสือพิมพ์ข่าวสด

วัดทองนพคุณ แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ วัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา 

     พระยาโชดึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) บูรณะและได้ถวายเป็นพระอารามหลวง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้รับพระราชทานชื่อว่า 'วัดทองนพคุณ' ชาวบ้านนิยมเรียกว่า 'วัดทองล่าง' 

    ในอดีต วัดทองนพคุณ ได้รับเกียรติมงคลอันสูงส่ง คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4, พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน, สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง

วัดแห่งนี้จึงมีชื่อเสียงดี เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

     รวมทั้งยังปรากฏนามพระดีที่ชื่อ พระเทพปริยัติมุนี เจ้าอารามผู้ปกครองวัดทองนพคุณ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา โดยเฉพาะชาวชุมชนคลองสาน 

     อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นพระนักปราชญ์ พระนักเทศน์ และพระนักการศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลและส่งเสริมกิจการสำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดทองนพคุณ จนทำให้เป็นสำนักเรียนของคณะสงฆ์ที่มีความโดดเด่นติดอันดับต้นของประเทศไทย

     ปัจจุบัน พระเทพปริยัติมุนี (สมคิด เขมจารี) สิริอายุ 68 พรรษา 48 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณและรองเจ้าคณะภาค 11

     อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า สมคิด บุตรทุมพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2487 ณ บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 8 ต.อุ่มเม่า อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายบ่ายและนางคำตา บุตรทุมพันธ์ 

     เมื่อครั้งวัยเยาว์ เป็นเด็กที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ร่าเริง และชอบสนุกสนานเหมือนกับเด็กทั่วไป แต่มีจิตใจใฝ่ในธรรม ชอบฟังเทศน์ ชอบไปทำบุญถวายภัตตาหารเช้ากับครอบครัวที่วัดเป็นประจำ

     พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาชั้น ป. 4 ที่โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้าน ต่อมา ท่านได้บรรพชา ณ ภูมิลำเนาจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2500 มีเจ้าอธิการบุญ เจ้าอาวาสวัดศรีสะเกศ เจ้าคณะตำบลเชียงใหม่ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ 

     กาลต่อมา ท่านได้ย้ายไปศึกษาที่วัดหนองขุ่น ต. ยางโยภาพ อ. ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม พ.ศ. 2504 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ สำนักเรียนวัดหนองขุ่น จ. อุบลราชธานี 

     จากนั้น ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี พ.ศ. 2507 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดหนองขุ่น จ.อุบลราชธานี

     เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดหนองขุ่น เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2508 มีเจ้าอธิการหอม คุตตจิตโต เจ้าอาวาสวัดโนนรังน้อย เจ้าคณะตำบลยางโยภาพ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการจำปา สิริปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาอมร เขมจิตโต วัดหนองขุ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์

     ภายหลังอุปสมบท ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. 2509 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ก่อนได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ มุ่งมั่นศึกษาหาความรู้และศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างมานะพยายาม

     พ.ศ. 2518 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค จากสำนักศาสนศึกษาวัดทองนพคุณ

ท่านยังแสวงหาความรู้แขนงอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย 

     ขณะที่อยู่ที่วัดทองนพคุณแห่งนี้ พระมหาสมคิดได้รับภาระในงานสำคัญต่างๆ เป็นอันมาก ช่วยเจ้าอาวาสในการพัฒนาการศึกษาวัดทองนพคุณมาโดยลำดับ ต่อมาได้มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เริ่มต้นจากครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักศึกษาวัดทองนพคุณ 

     ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ 
     พ.ศ. 2525 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ 
     พ.ศ. 2530 เป็นเลขานุการรองเจ้าคณะภาค 8 
     พ.ศ. 2533 เป็นพระอุปัชฌาย์ วิสามัญ 
     พ.ศ. 2537 เป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ 
     พ.ศ. 2541 เป็นรองเจ้าคณะภาค 11

     ท่านได้ปฏิบัติงานการคณะสงฆ์ในหน้าที่ด้านต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายมาด้วยความเรียบร้อยดีงามและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งได้บำเพ็ญกรณียกิจอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา ทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์มาโดยลำดับดังนี้

     พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระกิตติสารเมธี 
     พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติเวที 

     พ.ศ.2547 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปริยัติมุนี 

     กล่าวสำหรับงานด้านการศึกษา ถือว่าเป็นงานที่พระเทพปริยัติมุนี มีความถนัด มีความชำนาญ เป็นงานที่ท่านมีใจรักเป็นอย่างยิ่ง โดยท่านได้ทำหน้าที่ในงานด้านนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ได้รับมอบหมายให้เป็นครูสอนตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นสามเณรอยู่ที่ จ.อุบล ราชธานี

     กล่าวเฉพาะ เมื่อเข้ามาอยู่ที่วัดทองนพคุณ ท่านก็ได้ทำหน้าที่ต่าง ๆ เป็นผู้มีส่วนรับผิดชอบงานด้านการศึกษาในสำนักเรียนมาในทุกระดับ นับตั้งแต่เป็นครูสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ท่านสอนมาทุกชั้นทุกประโยค เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี จึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่างๆ ที่สูงขึ้นโดยลำดับ คือ เป็นเลขานุการสำนักเรียน เป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ เป็นอาจารย์ใหญ่ และเป็นเจ้าสำนักเรียนในที่สุด 

     นอกจากท่านสอนในสำนักเรียนวัดทองนพคุณแล้ว ท่านยังได้รับมอบหมายจากทางคณะสงฆ์ให้ไปสอนที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมคณะสงฆ์ส่วนกลาง ที่วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ประจำชั้นประโยค ป.ธ.7 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนถึงปี พ.ศ.  2546 

     ในด้านการศึกษาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากจะเป็นกรรมการตรวจข้อสอบทั้งแผนกธรรมและบาลีแล้ว ท่านได้ยังเป็นกรรมการตรวจร่างเฉลยข้อสอบประโยคบาลีสนามหลวงในวิชาบาลีไวยากรณ์ ประโยค ป.ธ. 3 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

   ด้วยความที่ท่าน    เอาใจใส่เรื่องการศึกษาพระปริยัติ
ธรรม ยังเป็นผู้มีส่วนผลักดัน สนับสนุน และส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณร สอบได้ประโยค ป.ธ .9 และประโยคอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก 

    นอกจากนี้ ท่านยังสนองงานคณะสงฆ์ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เน้นนโยบายด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม อันเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนาแก่เจ้าคณะพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ถือเป็นกำลังสำคัญของวัด สังคม ส่วนราชการ พระศาสนา และประเทศชาติ 

     จนได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปีพุทธศักราช 2544 ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม 

     อีกทั้งยังเป็นพระนักเทศน์ชั้นแนวหน้า ท่านเคยได้ถวายพระธรรมเทศนา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ในพระราชพิธีมหามงคลสมัยครบรอบ 60 ปี แห่งการบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน อีกด้วย

     แม้กระนั้น ทุกวันนี้ พระเทพปริยัติมุนี ยังคงดำรงวิถีชีวิตส่วนตัวที่เป็นไปด้วยความสมถะสันโดษ คอยสอดส่องดูแลความเป็นอยู่ของสมณะผู้น้อย


เป็นที่เคารพนับถือของคณะสงฆ์ผู้ใต้ปกครองเสมอต้น