Image
พระประธานในพระอุโบสถ
Image
พระประธานในพระอุโบสถ
วัดทองนพคุณ 103 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา 17 เขตคลองสาน กทม. "สุทัศน์ เดียวสูงเนิน ผู้ดูแลเว็บ" 

สถิติ
เปิดเมื่อ9/09/2012
อัพเดท11/01/2013
ผู้เข้าชม39042
แสดงหน้า44868
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




เหรียญสตางค์สิบ ปลุกเสก 26 วัน โดย หลวงพ่อคูณ

อ่าน 1115 | ตอบ 1
เหรียญสตางค์สิบ ปลุกเสก 26 วัน ปลุกเสกโดย หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ด่านขุนทด นครราชสี

เหรียญสตางค์สิบ ปลุกเสก 26 วัน

วัดทองนพคุณ เป็นพระอารามหลวงสำคัญ มีความงดงามมาก กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ 

มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น คือ พระอุโบสถ หน้าบันสลักลวดลาย ด้านหน้ามีรูปเทพอุ้มผ้าไตร หน้าต่างเป็นช่องกลม หน้านางด้านข้างข้างละ 4 ช่อง ลวดลายปิดทองประดับกระจก พระวิหารหลวง ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ถือปูนเกลี้ยง หน้าบันประดับกระเบื้องสีและถ้วย จาน ชาม อาคารก่ออิฐทรงไทยสมัยรัตน โกสินทร์ตอนต้น 


     เดิมชื่อ วัดทองล่าง สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมาพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) ได้เป็นผู้บูรณะซ่อมแซม และถวายให้เป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 และบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4

     วัดทองนพคุณมีชื่อเสียงเกียรติคุณทางด้านการศึกษาอย่างยาวนาน สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ พระยาอุภัยพิพากษา (เกลื่อน ชัยนาม) พระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนเลี้ยง สารสิน) พระธรรมเจดีย์ (กี) ได้เคยมาเรียนที่สำนักวัดทองนพคุณแห่งนี้ 

ปัจจุบัน พระเทพปริยัติมุนี (สมคิด เขมจารี) รองเจ้าคณะภาค 11 เป็นเจ้าอาวาส



ครั้งหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐสนิสสโร) วัดชนะสงคราม อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ได้เคยมอบสารอวยพรยกย่องพระเทพปริยัติมุนี ในโอกาสได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดังมีใจความสำคัญว่า ... 

     'วัดทองนพคุณแห่งนี้มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักและยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ด้วยท่านเจ้าคุณพระเทพปริยัติมุนี ได้รับพระราชทานถวายพระธรรมเทศนาแด่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินอยู่บ่อยครั้ง สมกับความเป็นพระนักเทศน์ชั้นแนวหน้า ได้ถวาย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ในพระราชพิธีมหามงคลสมัยครบรอบ 60 ปี แห่งการบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเปี่ยมล้นด้วยทศพิธราชธรรม ดังที่ท่านได้ติดตามชมภาพข่าวในพระราชสำนักกันทั่วสารทิศ'

     พระเทพปริยัติมุนี ยังมีความสนิทชิดเชื้อกับหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ ไปมาหาสู่กันหลายคราว สร้างวัตถุมงคลถวายให้หลวงพ่อคูณแจกบ่อยครั้ง วัตถุมงคลที่ท่านเจ้าคุณฯ สร้างกลับกลายเป็นของหายากและเล่นหากันค่านิยมสูงทุกรุ่น หลวงพ่อคูณฯเองท่านยังเคยเรียกท่านเจ้าคุณให้ไปพบ และมอบ 'คาถาเสกหมาก' 'คาถาเสกบุหรี่' หลวงพ่อคูณท่านบอกว่า 'เอ้าสืบไว้เดี๋ยวมันจะสูญซะ'

     ในโอกาสที่พระเทพปริยัติมุนี ได้สร้างศาลาอเนกประสงค์ เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้นำเรื่องไปกราบเรียนหลวง พ่อคูณ 

     ท่านเจ้าคุณกราบเรียนหลวงพ่อคูณว่า 'สร้างเป็นเหรียญสตางค์ขวัญถุง ดีมั้ยหลวงพ่อ' 

     หลวงพ่อคูณ ตอบว่า 'ดีหลาย จะได้มีเงินกันหลาย ๆ'

     เหรียญสตางค์สิบรุ่นแรก เป็นเหรียญกลมขนาดเหรียญ 5 บาท ด้านหน้าเหรียญมีรูปหลวงพ่อคูณ แกะได้นูนสวยคมชัด หลังเรียบตอกโค้ดคำมงคลว่า 'ร่ำรวย-ขายดี-มั่งมี-ปลอดภัย' ขอบเป็นฟันเลื่อยเหมือนสตางค์ทุกประการ

     เหรียญสตางค์สิบนี้ หลวงพ่อคูณ ปลุกเสกในโอกาสพิเศษ คราวทำบุญครบรอบ 88 ปี ย่างเข้าปีที่ 89 ปี ปลุกเสกเหรียญสตางค์สิบ เป็นรุ่นแรก

     กล่าวกันว่าเหรียญรุ่นนี้ใช้เวลาเสกนานที่สุด ด้วยในแผ่นพับที่พิมพ์แจกจ่ายกำหนดไว้ว่า 'หลวงพ่อคูณ ท่านเมตตาเสกให้ 3 วัน 3 คืน' แต่ความจริงแล้ว หลวงพ่อคูณท่านเสกให้มากกว่า 3 วัน ด้วยท่านนำเหรียญสตางค์สิบใส่กล่องกระดาษ นำเข้าห้องหลวงพ่อคูณตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 นำกล่องเหรียญสตางค์สิบออกจากห้องหลวงพ่อคูณ วันที่ 28 ตุลาคม 2554 ร่วมเวลาที่เหรียญอยู่ในห้องหลวงพ่อคูณ 26 วัน 26 คืน ที่หลวงพ่อคูณท่านเมตตาปลุกเสกเดี่ยวให้ นับเป็นวัตถุมงคลที่หลวงพ่อคูณปลุกเสกนานที่สุด 

     การสร้างศาลาอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ก่อสร้างไปแล้วบางส่วนด้วยเงินบริจาคของศรัทธาสาธุชน ยังขาดงบประมาณอีกประมาณ 8 ล้านบาท ศิษย์หลวงพ่อคูณหลายท่านต้องการให้ขยายเวลาจอง ด้วยติดขัดเนื่องจากปัญหาน้ำท่วม 

     จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาจองบูชาเป็นเจ้าภาพสร้างศาลาฯ และเป็นโอกาสดีที่จะได้รับยอดมงคลวัตถุของหลวงพ่อคูณ ไปบูชาพร้อมกันในครั้งนี้ 

ติดต่อโดยตรงได้ที่โทร.08-1925-2534 
พระมหาเรวัตร อาวุธปัญโญ สั่งจ่าย ป.ณ.คลองสาน
ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด

 
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 29/02/2020 10:58
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :